The Kesputt 's Doubts and The Metaphysical Problems
![]() |
ภาพโดยก้าวตามธรรมFollow the Dharma |
เมื่อพระโพธิสัตว์สิทธัตถะได้พัฒนาศักยภาพชีวิตของพระองค์เอง ด้วยการปฏิบัติตามอริยมรรคมีองค์ ๘ พระองค์ก็ตรัสรู้ว่า แก่นแท้ของชีวิตมนุษย์ ก็คือจิตใจอาศัยอยู่ในร่างกาย เมื่อมนุษย์ตายไป จิตจะออกจากร่างกายไปเกิดใหม่ในโลกอื่น การตรัสรู้เองของพระโพธิสัตว์สิทธัตถะทำให้ชาวพุทธทั่วโลกเรียกพระองค์ว่า "พระพุทธเจ้า" และทำให้มนุษย์ตระหนักว่า พระพรหมไม่ใช่ผู้สร้างมนุษย์และวรรณะให้กับมนุษย์ปฏิบัติหน้าที่ตามวรรณะที่ตนเกิดมา เพราะพระพรหมไม่มีอยู่จริง
แต่โดยทั่วไปแล้ว ลักษณะของชีวิตมนุษย์ประกอบด้วยร่างกายและจิต แต่แก่นแท้ของชีวิตคือจิตที่แท้จริงอาศัยอยู่ในร่างกายเพียงชั่วคราว อาจเป็นเวลา ๑๐ ปี ๒๐ ปี หรือมากกว่านั้น เมื่อมนุษย์ตายไป จิตไม่สามารถพึ่งร่างกายได้อีกต่อไป ต้องออกจากร่างกายไปอยู่โลกอื่นต่อไป ในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ จิตนั้นจะใช้อายตนะภายในร่างกายเพื่อรับรู้เรื่องราวของโลก การตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าทรงเป็นค้นพบกฎธรรมชาติของชีวิตมนุษย์ ซึ่งเรียกอีกอย่างหนึ่งว่ากฎแห่งกรรมคือวิญญาณของมนุษย์ผ่านวัฏจักรวัฏจักรแห่งการเกิดและการตายอย่างไม่สิ้นสุดและไม่มีใครหนีพ้นกฎธรรมชาติได้ การตรัสรู้ของพระพุทธเจ้ามิใช่การรู้แจ้งจากความนึกคิดขึ้นมาเองแล้วใช้เหตุผลเป็นเครื่องมือของมือนักปรัญาทรงพัฒนาศักยภาพของชีวิตตามวิธีการของมรรคมีองค์ ๘ จนบรรลุถึงความรู้ในระดับอภิญญา ๖ เพราะฉะนั้น เมื่อแก่นแท้ของชีวิตมนุษย์ทุกคนมีจิตวิญญาณกับร่างกายเป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน เมื่อพระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ และทดสอบความรู้ที่ได้จากการตรัสรู้เป็นเวลา ๔๙ วัน พระองค์ได้นำเรื่องชีวิตมนุษย์มาอธิบายในรูปแบบของ"ขันธ์ห้า" ซึ่งเราแยกองค์ประกอบของขันธ์ ๕ ได้ดังนี้
๑. รูปของชีวิตมนุษย์ ชีวิตมนุษย์มีเหตุปัจจัยสองอย่างรวมกันคือกายและจิต ส่วนร่างกายแสดงลักษณะรูปพรรณสัณฐานของมนุษย์ เพื่อแยกแยะให้เห็นความแตกต่างระหว่างสัตว์ด้วยกันเช่นมนุษย์เดินด้วยขา ๒ ขา เป็นต้น ส่วนสัตว์บางชนิด เห็นว่ามีความแตกต่างระหว่างสัตว์น้อยใหญ่ได้ ร่างกายของสัตว์น้อยเป็นที่อยู่อาศัยของจิตวิญญาณอันเป็นตัวตนแท้จริงของมนุษย์
๒. เวทนา เป็นอาการของจิตใจที่เกิดขึ้น เมื่อจิตใจผัสสะสิ่งหนึ่งสิ่งใดผ่านอินทรีย์ ๖ จิตใจเกิดความรู้สึกสุขทุกข์ที่เปลี่ยนแปลงไปไม่คงที่แต่อย่างใด มีอาการเป็นความสุขบ้าง เป็นความทุกข์บ้าง วางอุเบกขาบ้างเป็นต้นการเปลี่ยนแปลงจิตวิญญาณเป็นเจตสิกในแบบต่าง ๆ ช่วยให้เราวิเคราะห์อุปนิสัยของผู้คนในลักษณะต่างได้ ตามความชอบของแต่ละคน เป็นต้น

๓. สัญญา เป็นอาการของจิตวิญญาณที่เกิดขึ้นเมื่อมีสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่มาผัสสะกับอินทรีย์ ๖ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของร่างกาย จิตน้อมรับเก็บอารมณ์ของสิ่งนั้นที่ผ่านอินทรีย์ ๖ มาเก็บไว้ในจิตและอยู่ในจิตวิญญาณตลอดไปไม่หายไปไหนติดตามจิตวิญญาณไปทุกหนทุกแห่ง๔.สังขาร เป็นธรรมชาติอย่างของจิตวิญญาณ เกิดขึ้นเมื่อมีสิ่งหนึ่งสิ่งใดจรเข้ามาสู่ชีวิต จิตวิญญาณย่อมสงสัยในสิ่งหนึ่งสิ่งใดมาผัสสะนั้น จิตวิญญาณย่อมคิดหาเหตุผลจากพยานหลักฐานต่าง ๆ จนเกิดความรู้ที่ผ่านเกณฑ์ตัดสินที่สมเหตุสมผลและปราศจากข้อสงสัยในความจริงของสิ่งนั้นอีกต่อไป
๕. วิญญาณ มีความหมายสองนัย แปลอีกนัยหนึ่งว่าการรับรู้ของร่างกายที่เรียกว่าความรู้สึกเมื่อถูกผัสสะสิ่งหนึ่งสิ่งใด ส่วนความหมายอีกนัยหนึ่งนั้น คือจิตวิญญาณออกจากร่างกายไปสู่จุติจิตในภพภูมิอื่น เป็นต้น
ผู้เขียนสนใจศึกษาค้นคว้าปัญหาเกี่ยวกับความสงสัยของชาวเกสปุตตะในพระไตรปิฎก โดยการเขียนบทความเชิงวิเคราะห์ หาคำตอบจาก ข้อมูลในพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬา ฯ อรรถกถา และเอกสารวิชาการอื่น ๆ เนื้อหาของคำตอบ จะเป็นประโยชน์ต่อพระธรรมวิทยากรใช้บรรยายให้แก่ผู้แสวงบุญชาวไทย ให้จิตเกิดความรู้ความเข้าใจในพระพุทธศาสนาให้เป็นไปในแนวทางเดียวกันส่วนกระบวนการวิเคราะห์ตามแนวคิดทางปรัชญา จะเป็นประโยชน์ต่อการวิจัยของนิสิตในระดับปริญญาเอกสาขาพระพุทธศาสนา อาศัยเหตุผลจากการวิเคราะห์ทำให้เกิดความรู้และความเข้าใจในหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า ปราศข้อสงสัยในความจริงอีกต่อไปทำให้จิตวิญญาณเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานตามคำสอนของพระพุทธเจ้าด้วยความรู้และความเข้าใจในความจริงของชีวิตตน
๒.แนวคิดความสงสัยของชาวเกสปุตตะในพระไตรปิฎก ชาวกาลามะเป็นมนุษย์เช่นเดียวกับมนุษย์ทั่วโลกที่อุบัติขึ้นมาจากปัจจัยของกาย และวิญญาณมารวมกันเพื่อสร้างชีวิตของมนุษย์คนใหม่ มนุษย์ที่เกิดขึ้นมาเป็นของไม่เที่ยงและมิใช่ตัวตนที่แท้จริง เพราะชีวิตใหม่ที่ยังอยู่ภายใต้อำนาจของกฎไตรลักษณ์จึงเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และสลายตัวตลอดเวลา เมื่อชีวิตสูญสลายไป วิญญาณจะออกจากร่างกายของคนตายไปจุติไปสู่ภพภูมิอื่นต่อไป ในช่วงมีชีวิตนั้น ธรรมชาติของวิญญาณมนุษย์นั้นชอบปรุงแต่งสิ่งต่างๆ ที่มาผัสสะจิตวิญญาณตนเอง ที่เรียกอย่างว่า"การปรุงแต่ง" นั้น อาจเรียกเป็นอย่างที่มีความหมายในลักษณะอย่างเดียวกัน เช่น การคิดก็มี สงสัยก็มี วิเคราะห์ก็มี พิจารณาก็มี และเรียกว่าใครร่ครวญก็มี ด้วยมนุษย์ใช้จิตหาเหตุผลของคำตอบยืนยันข้อเท็จจริงของคำตอบจากสิ่งที่ต่าง ๆ จรเข้ามาสู่ชีวิตตลอดเวลา เมื่อมนุษย์วิเคราะห์ข้อมูลจากที่มาของความรู้ในแหล่งต่าง ๆ และพิสูจน์เพื่อหาเหตุผลของคำตอบหลายครั้งจนเกิดความแน่ใจและปราศจากข้อสงสัยอีกต่อไปจึงถือว่า เป็นความรู้ที่แท้จริงในเรื่องนั้น
Buddhist Stupa Kesariya |
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มีสมณะพราหมณ์พวกหนึ่งมายังเกสปุตตนิคมแสดงประกาศวาทะของตนเท่านั้น แต่กระทบกระเทียบ ดูหมิ่น กล่าวข่มวาทะผู้อื่นทำให้ไม่น่าเชื่อถือ
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลายมีความสงสัย ลังเลใจในสมณพรหามณ์เหล่านั้นว่า บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้นว่าใครพูดจริง ใครพูดเท็จ"
พระผู้มีพระภาคตรัสว่ากาลามชนทั้งหลาย ก็สมควรที่ท่านทั้งหลายจะสงสัย สมควรที่จะลังเลใจ ท่านทั้งหลายเกิดความสงสัยลังเลในฐานะที่ควรสงสัยอย่างแท้จริง มาเถิดกาลามะทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลายมีความสงสัย ลังเลใจในสมณพรหามณ์เหล่านั้นว่า บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้นว่าใครพูดจริง ใครพูดเท็จ"
พระผู้มีพระภาคตรัสว่ากาลามชนทั้งหลาย ก็สมควรที่ท่านทั้งหลายจะสงสัย สมควรที่จะลังเลใจ ท่านทั้งหลายเกิดความสงสัยลังเลในฐานะที่ควรสงสัยอย่างแท้จริง มาเถิดกาลามะทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย
๑. อย่าปลงใจเชื่อด้วยการฟังตามกันมา
๒. อย่าปลงใจเชื่อด้วยการถือสืบๆ กันมา
๓. อย่าปลงใจเชื่อด้วยการเล่าลือ
๔. อย่าปลงใจเชื่อด้วยการอ้างตำราหรือคัมภีร์
๕. อย่าปลงใจเชื่อเพราะตรรกะ(การคิดเอาเอง)
๖. อย่าปลงใจเชื่อเพราะการอนุมาน
๗. อย่าปลงใจเชื่อเพราะการคิดตรองตามแนวเหตุผล
๘. อย่าปลงใจเชื่อเพราะเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว
๙. อย่าปลงใจเชื่อเพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าจะเป็นไปได้
๑๐.อย่าปลงใจเชื่อถือเพราะนับถือว่าท่านสมณะนี้เป็นครูของเรา

กาลามะทั้งหลายเมื่อใดท่านทั้งหลายพึงรู้ด้วยตนเองเท่านั้นว่าธรรมเหล่านี้เป็นอกุศล ธรรมเหล่านี้มีโทษ ธรรมเหล่านี้ผู้รู้ติเตียน ธรรมเหล่านี้บุคคลถือปฏิบัติบริบรูณ์แล้วย่อมเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูลเพื่อทุกข์ เมื่อนั้นท่านทั้งหลายควรละ (ธรรมเหล่านั้น) เสีย
จากข้อความในพระไตรปิฎกนั้นผู้เขียนตีความได้ว่า เมื่อมนุษย์ผัสสะคำสอนของเจ้าลัทธิใดลัทธิหนึ่งนั้น พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนให้เกิดความสงสัยไว้ก่อน ไม่ว่าความรู้นั้นจะได้รับรู้มาโดยวิธีใดก็ตามก่อนผู้นั้นจะเชื่อว่าเป็นความรู้และความจริงนั้น ตามแนวคิดทางปรัชญานั้น ใช้หลักสงสัยไว้ก่อนตามแนวคิดของปรัชญาวิมัติของพวกกรีก สอดคล้องกับข้อความในพระไตรปิฎกเล่ม ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ (ฉบับมหาจุฬาฯ) อังคุตตรนิกายเอกทุกติกนิบาต ๒. มหาวรรค๕.เกสปุตติสูตรว่าด้วยกาลามะ ชาวเกสปุตตนิคมข้อ.๖๖เป็นแนวคิดปรัชญาวิมัตินิยมในพุทธปรัชญาเถรวาท
นั่นคือ เมื่อชาวกาลามะได้รับรู้ผ่านประสาทสัมผัสของพวกเขาเอง โดยการฟังคำประกาศทางศาสนาของพราหมณ์ที่เดินทางไปเผยแผ่ศาสนาในท่ามกลางหมู่ชนกาลามะที่ตำบลเกสปุตตะนิคม แคว้นโกศลนั้น นอกจากพวกเขายังได้ยินถ้อยคำสรรเสริญหลักคำสอนในลัทธิตนแล้วพวกสมณะพราหมณ์ยังกล่าวโจมตีหลักคำสอนของลัทธิศาสนาอื่นด้วยการใช้ถ้อยคำ กระทบกระเทียบ ดูหมิ่นคำสอนของศาสนาอื่น ใช้ถ้อยคำข่มคำสอนของศาสนาอื่นเพื่อให้ผู้ฟังนั้น ไม่เกิดศรัทธานับถือในศาสนาที่ตนเคยนับถืออีกต่อไป เมื่อสมณะพราหมณ์เหล่านั้นประกาศคำสอนของความเชื่อตนเองเสร็จแล้ว ทำให้ชาวเกสปุตตะเกิดความสงสัย (คิด) จากสิ่งที่ได้ฟังเรื่องราวดังกล่าวว่าใครพูดจริงและใครพูดเท็จเป็นต้น ถึงพากันมาทูลถามพระพุทธเจ้า
ทรงตรัสว่า เมื่อได้ยินได้ฟังเรื่องราวเรื่องหนึ่งเรื่องใดนั้น อย่าปลงใจเชื่อสิ่งใดเพราะฟังตามกันมา อย่าปลงใจ เชื่อสิ่งใดการเล่าลือ (ในสภากาแฟ) อย่าปลงใจ เชื่อสิ่งใดตำราหรือคัมภีร์ (หรือข้อความออนไลน์) อย่าปลงใจ เชื่อสิ่งใดตรรกะเหตุผลที่คิดเอาเอง (จากการอ่านหรือศึกษาเอง) อย่าปลงใจ เชื่อสิ่งใดการอนุมานความรู้ อย่าปลงใจ เชื่อสิ่งใดคิดตรองตามแนวเหตุผล อย่าปลงใจ เชื่อสิ่งใดเข้าได้กับทฤษฎีที่คิดพิจารณาไว้แล้ว ลักษณะที่เป็นไปได้ และเพราะเป็นสมณะครูของเรา เป็นต้น ตัวอย่างเช่น มนุษย์คิดว่าชีวิตตายแล้วสูญหลายคนเชื่อเพราะคนเล่ากันสืบต่อกันมาการเล่าลือ ตำราหรือคัมภีร์ ตรรกะเหตุผลที่คิดเอาเอง การอนุมานความรู้ คิดตรองตามแนวเหตุผล เข้าได้กับทฤษฎีที่คิดพิจารณาไว้แล้ว ลักษณะที่เป็นไปได้ และเพราะเป็นสมณะครูของเรา จนกว่าจะลงมือปฏิบัติด้วยวิธีการตามมรรคมีองค์๘ของคำสอนของพระพุทธเจ้าจนกว่าบรรลุถึงความรู้ในระดับอภิญญา๖แล้ว อันเป็นสัจธรรมของชีวิตมนุษย์ทุกคน เป็นต้น
ทรงตรัสว่า เมื่อได้ยินได้ฟังเรื่องราวเรื่องหนึ่งเรื่องใดนั้น อย่าปลงใจเชื่อสิ่งใดเพราะฟังตามกันมา อย่าปลงใจ เชื่อสิ่งใดการเล่าลือ (ในสภากาแฟ) อย่าปลงใจ เชื่อสิ่งใดตำราหรือคัมภีร์ (หรือข้อความออนไลน์) อย่าปลงใจ เชื่อสิ่งใดตรรกะเหตุผลที่คิดเอาเอง (จากการอ่านหรือศึกษาเอง) อย่าปลงใจ เชื่อสิ่งใดการอนุมานความรู้ อย่าปลงใจ เชื่อสิ่งใดคิดตรองตามแนวเหตุผล อย่าปลงใจ เชื่อสิ่งใดเข้าได้กับทฤษฎีที่คิดพิจารณาไว้แล้ว ลักษณะที่เป็นไปได้ และเพราะเป็นสมณะครูของเรา เป็นต้น ตัวอย่างเช่น มนุษย์คิดว่าชีวิตตายแล้วสูญหลายคนเชื่อเพราะคนเล่ากันสืบต่อกันมาการเล่าลือ ตำราหรือคัมภีร์ ตรรกะเหตุผลที่คิดเอาเอง การอนุมานความรู้ คิดตรองตามแนวเหตุผล เข้าได้กับทฤษฎีที่คิดพิจารณาไว้แล้ว ลักษณะที่เป็นไปได้ และเพราะเป็นสมณะครูของเรา จนกว่าจะลงมือปฏิบัติด้วยวิธีการตามมรรคมีองค์๘ของคำสอนของพระพุทธเจ้าจนกว่าบรรลุถึงความรู้ในระดับอภิญญา๖แล้ว อันเป็นสัจธรรมของชีวิตมนุษย์ทุกคน เป็นต้น
บรรณานุกรม
-พระไตรปิฎกเล่ม ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ (ฉบับมหาจุฬา ฯ ) อังคุตตรนิกาย เอก ทุก ติกนิบาต ๒. มหาวรรค๕. เกสปุตติสูตร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น