The epistemological problem of "Gratitude of the Buddha"
บทนำ
ในสมัยหลังพุทธกาล ตรงกับสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชทรงเป็นผู้ปกครองแคว้นโมริยะอันยิ่งใหญ่ หลังจากการสังคายนาพระไตรปิฎกฉบับอโศกเสร็จสิ้นแล้ว พระองค์ทรงส่งพระธรรมทูตแห่งรัฐโมริยะเดินทางปฏิบัติศาสนกิจเผยแผ่พระพุทธศาสนาสู่รัฐสุวรรณภูมิ โดยเรือขนส่งสินค้าขนาดใหญ่บนเส้นทางการค้าโบราณสายนั้น เพื่อพัฒนาศักยภาพชีวิตของผู้อยู่อาศัยมนรัฐสุวรรณภูมิตามหลักมรรคมีองค์ ๘ ให้ชีวิตเข็มแข็งด้วยการทำสมาธิ รักษาจิตใจให้บริสุทธิ์และปราศจากอารมณ์เศร้าหมอง มีจิตใจที่อ่อนโยนเหมาะสมกับการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างมีความสุข ยึดมั่นในอุดมการณ์สุงสุดของชีวิต มีจิตใจแน่วแน่ต่อการปฏิบัติหน้าที่ต่อผู้อื่นด้วยความซื่อสัตย์ สุจริตและยุติธรรม เป็นต้น
เมื่อเราศึกษาหลักฐานในพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬา ฯ เราได้ฟังข้อเท็จจริงเบื้องต้นว่า พระพุทธเจ้าทรงสอนมนุษย์ให้ความกตัญญูรู้คุณคน นอกจากนี้เป็นเวลากว่า ๒,๕๐๐ ปัญหาแล้ว พระภิกษุในพระพุทธศาสนาได้แสดงพระธรรมเทศนาตามอารามต่าง ๆ ในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ในดินแดนรัฐสุวรรณภูมิ ญาณวิทยาเกี่ยวกับที่มาของความรู้ของมนุษย์ เป็นปัญหาหนึ่งนักปรัชญาสนใจศึกษากัน ตามหลักปรัชญาแดนพุทธภูมิ เมื่อนักปรัชญากล่าวอ้างข้อเท็จจริงในเรื่องใด ต้องมีพยานหลักฐานมาสนับข้อเท็จจริงในเรื่องนั้น หากไม่มีหลักฐานพิสูจน์ข้อเท็จจริงในเรื่องนั้น เหตุผลของข้อเท็จจริงในเรื่องนั้นมีน้ำหนักน้อยไม่น่าเชื่อถือ และยังไม่ชัดเจนเพียงที่จะยอมรับว่าเป็นความจริงได้ เพราะยังสงสัยในข้อเท็จจริง ต้องสวบสวนข้อเท็จจและพยานหลักฐานเพิ่มเติมต่อไป
กล่าวคือ เมื่อผู้เขียนศึกษาหลักฐานพิสูจน์ข้อเท็จจริงในพระไตรปิฎกมหาจฬาฯ และได้ยินข้อเท็จจริงเบื้องต้นว่า เจ้าชายสิทธัตถะทรงเป็นพระโอรสองค์โตของพระเจ้าสุทโธทนะและพระนามายาเทวี สำเร็จกาหลักสูตรศิลปศาสตร์๑๘ สาขาจากสำนักครูวิศวามิตร เพื่อเตรียมความพร้อมการเป็นกษัตริย์ในอนาคตพร้อมพระอานนท์ซึ่งเป็นพระญาติของพระองค์ ความกตัญญูของพระพุทธเจ้าว่าอันเป็นปรากฏการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้น เมื่อกว่า ๒,๕๐๐ ปีพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานไป และคนในสมัยนั้นก็ตายไปหมดมีหลักฐานอะไรยืนยันข้อเท็จจริงนี้?แต่ผู้เขียนชอบค้นหาความรู้ในเรื่องนี้ จึงรวบรวมพยานหลักฐานให้เพียงพอสำหรับการวิเคราะห์ เพื่อพิสูจน์ความจริงของคำตอบในเรื่องนี้
จากหลักฐานที่แสดงให้พระจริยวัตรของพระพุทธเจ้าที่ทรงแสดงความกตัญญูต่อพระเจ้าสุทโธทนะ พระบิดา พระนางมายาเทวีพระมารดาและพระนางปชาโคตรมีพระมารดาเลี้ยงจึงมีข้อมูลกระจัดกระจายอยู่ในพระไตรปิฎกมหาจุฬา ฯ หลายเล่มการค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับ "ความกตัญญูกตเวทิตาของพระพุทธเจ้า" เราต้องจำกัดขอบเขตของบทความนี้ให้แคบลง โดยคำจำกัดความนี้กำหนดจากหลักฐานทางวิชาการที่ทุกฝ่ายยอมรับ
เช่นคำนิยามของพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๕๔ ที่นิยามว่า "กตัญญู" หมายถึงซึ้งรู้อุปการะที่ท่านทำให้, ซึ้งรู้คุณท่าน เป็นต้น เมื่อผู้เขียนศึกษาคำนิยามของพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๕๔ ผู้เขียนตีความว่า ความกตัญญูเป็นอาการอย่างหนึ่งของจิตใจ ที่มีลักษณะเป็นนามธรรมที่สั่งสมอยู่ในจิตและเกิดขึ้นจากความตั้งใจในจิตใจของมนุษย์ แต่คนทั่วไปไม่สามารถล่วงรู้เข้าไปภายในจิตของมนุษ์แต่ละคนว่า ใครมีความกตัญญูในชีวิตมากหรือน้อยเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับสติและปัญญาของแต่ละคน เว้นแต่บุคคลนั้นจะแสดงความกตัญญูให้ผู้อื่นทราบเท่านั้น ความกตัญญูกตเวทิตา จึงเป็นความท้าทายอย่างหนึ่งของชีวิต ที่มนุษย์ควรค้นหาข้อมูลมาวิเคราะห์โดยอนุมานความรู้ เพื่อหาเหตุผลมาอธิบายความของคำตอบสำหรับความกตัญญู ที่มีอยู่ในใจของมนุษย์แต่ละคน เพื่อเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิต
เราควรศึกษาเรื่อง"ความกตัญญูกตเวที" นั้น ควรจะศึกษาจากแหล่งความรู้ในพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๔๕ เล่ม ในปัจจุบัน เทคโนโลยี่คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต ช่วยเราค้นหาข้อมูลในพระไตรปิฎกออนไลน์นั้นง่ายกว่าในอดีต เนื่องจากเราต้องอ่านพระไตรปิฎกทุกเล่มทำความเข้าใจในเนื้อหาสาระสำคัญที่เราต้องการ แต่ปัจจุบันเราเพียงเปิดอินเตอร์เน็ตป้อนถ้อยคำของข้อมูลที่ตนต้องการค้นหา เช่นคำว่า "กตัญญู" ในแอพพริเคชั่นของพระไตรปิฎกออนไลน์ ได้ข้อมูลคำว่า"กตัญญู"นั้นปรากฏหลักฐานในพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯหลายเล่มด้วยกัน
ผู้เขียนได้ข้อมูลจากในพระไตรปิฎกฉบับที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ ฉบับมหาจุฬาฯ อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต สารันททสูตร ข้อที่๑๔๓...........พระผู้มีพระภาคตรัสว่า"เจ้าลิจฉวีทั้งหลายเป็นผู้มุ่งกามจริงหนอสนทนากันแต่เรื่องกาม เจ้าลิจฉวีทั้งหลาย ความปรากฏแห่งแก้ว ๕ ประการ หาได้ยากในโลกสิ่งที่หาได้ยากที่สุดในโลกความปรากฏแห่งแก้ว ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑.ความปรากฏแห่งพระอรหันตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าหายากที่สุดในโลก
๒.บุคคลผู้แสดงธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศไว้ หาได้ยากในโลก
๓.บุคคลผู้รู้แจ้งธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศไว้ซึ่งผู้อื่นแสดงแล้วหาได้ยากในโลก
๓.บุคคลผู้รู้แจ้งธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศไว้ซึ่งผู้อื่นแสดงแล้วหาได้ยากในโลก
๔.บุคคลผู้รู้แจ้งธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศไว้ซึ่งผู้อื่นแสดงแล้วเป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมหาได้ยากในโลก
๕.ความกตัญญูกตเวทิตาหาได้ยากในโลกและในเชิงอรรรถได้ให้คำนิยามว่า"กตัญญูกตเวทิบุคคล"หมายถึงบุคคลผู้รู้อุปการะคุณที่ผู้อื่นกระทำต่อตนแล้ว กระทำการปฏิการคุณตอบแทน"
เมื่อเราศึกษาข้อมูลในพระไตรปิฎกออนไลน์ฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒๒นั้น เราได้ยินข้อเท็จจริงว่า บุคคลรู้อุปการะคุณของบุคคลที่เคยช่วยเหลือตนเองในยามลำบาก โดยให้อาหาร ให้ที่พักอาศัย ให้ยารักษาโรค ให้ทุนการศึกษา เมื่อรู้แล้วมาตอบพระคุณเขาในยามที่พวกเขาลำบากเป็นต้นซึ่งผู้เขียนได้แยกเป็นประเด็นดังนี้
(๑)บุคคลผู้รู้
(๒) อุปการะคุณที่ผู้อื่นกระทำต่อตน
(๓)กระทำการปฏิการคุณตอบแทน
โดยวิเคราะห์หาเหตุผลของคำตอบได้ดังต่อไปนี้
(๑)บุคคลผู้รู้อุปการะคุณ บุคคลหมายถึงผู้ที่มีนามสมมติว่า นายก, นาย ข.และเจ้าชายสิทธัตถะมีธรรมชาติแห่งชีวิต เกิดขึ้นจากร่างกายและจิตใจเป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน สร้างชีวิตใหม่ของตัวเองในครรภ์มารดาเป็นเวลา ๙ เดือนแล้ว จึงคลอดบุตร ส่วนจิตใจของมนุษย์อาศัยอยู่ในร่างกาย เพื่อเรียนรู้เรื่องราวของคนอื่นที่ได้ช่วยเหลือและสนับสนุนให้เติบโตเป็นผู้ใหญ่และสั่งสมเรื่องราวเหล่านั้นไว้ในจิตใจตนเองตัวอย่างเช่น เจ้าชายสิทธัตถะทรงรับรู้ว่าพระเจ้าสุทโธทนะซึ่งเป็นพระบิดาและพระนางมายาเทวีซึ่งเป็นพระมารดา ทั้งสองพระองค์ทรงช่วยเหลือเกื้อกูลพระองค์ในฐานะเป็นพระโอรสองค์โต ให้เจริญเติบโตไปสู่วัยผู้ใหญ่เพื่อเตรียมเป็นกษัตริย์ที่มีสิทธิและหน้าที่ในการปกครองรัฐสักกะ
พระองค์ทรงให้การศึกษาอย่างดีแก่เจ้าชายสิทธัตถะจนสำเร็จการศึกษาในหลักสูตรศิลปศาสตร์ ๑๘ สาขาวิชา ทรงสร้างปราสาท ๓ ฤดู ๓ หลังในพระราชวังกบิลพัสดุ์ ทรงพระราชทานข้าราชบริพารคอยรับใช้ ๔๐,๐๐๐ คน พระเจ้าสุทโธทนะะทรงจัดซื้อเสื้อผ้ากางเกงแพรภัณฑ์ และอย่างดีจากแคว้นกาสีให้พระองค์สวมใส่ในชีวิตประจำวันทรงจัดงานอภิเษกสมรสให้แก่เจ้าชายสิทธัตถะกับพระนางนางพิมพา เป็นต้น ต่อมาเมื่อเจ้าชายสิทธัตถะทรงเห็นว่าการแบ่งชนชั้นประชาชนเป็น ๔ วรรณะนั้น ทำให้เกิดสิทธิหน้าที่ในการประกอบอาชีพไม่เท่าเทียมกัน และมนุษย์มีตัณหาทำให้เกิดการแต่งงานข้ามวรรณะทำให้ลูกที่เกิดมามีสายเลือดของวรรณะไม่บริสุทธิ์ไม่รู้จะจัดให้อยู่ในวรรณะใด จึงถูกจัดให้อยู่ในคนจัณฑาลกลายเป็นไร้วรรณะ จึงไม่มีสิทธิหน้าที่ในการประกอบอาชีพตามกฎหมายแต่อย่างใดเพราะทุกอาชีพสงวนไว้แก่ชนวรรณะอื่นไปจนหมดสิ้นแล้ว
เมื่อพระองค์ไม่สามารถปฏิรูปสังคมของประเทศได้ด้วยการยกเลิกกฎหมายระบบวรรณะ ผ่านสถาบันทางการเมืองคือรัฐสภาศากยวงศ์ แต่รัฐสภามิได้อนุมัติตามที่เจ้าชายสิทธัตถะเสนอ เพราะขัดต่อข้อกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศที่เรียกว่า"ธรรมกษัตริย์" ซึ่งศักดิ์เทียบเท่ากฎหมายรัฐธรรมนูญในยุคสมัยปัจจุบันเมื่อทรงตั้งสติระลึกถึงข้อมูลของปัญหาของประเทศ ทรงพิจารณาเห็นว่า มูลเหตุของการแบ่งประชาชนออกเป็นวรรณะ ๔ พวก เพราะความเชื่อว่าพระพรหมเป็นเทพเจ้ามีอยู่จริงและทรงสร้างมนุษย์ขึ้นมาจากพระวรกายของพระองค์ การตัดสินพระทัยออกผนวชเพื่อแสวงหาเหตุผลของคำตอบเรื่องความจริงของชีวิตมนุษย์ทุกคน เพื่อนำมาหักล้างในประเด็นที่พระองค์ทรงสงสัย
ในความเชื่อว่าอยู่จริงเรื่องพระพรหมและเมื่อทรงตรัสรู้ว่าชีวิตมนุษย์ มีจิตวิญญาณเป็นตัวตนที่แท้จริงและค้นพบวิธีการพัฒนาศักยภาพของชีวิตด้วยปฏิบัติธรรมตามวิธีการมรรคมีองค์ ๘ จนชีวิตของพระองค์ทรงบรรลุถึงความรู้ในระดับอภิญญา ๖ ส่วนในเรื่องความตัญญูของพระองค์นั้น ตลอดพระชนม์ชีพของเจ้าชายสิทธัตถะทรงรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสของพระองค์เพียงอย่างเดียวว่า พระองค์ทรงประสูติจากพระครรภ์ของพระนางมายาเทวีพระมารดาทำให้พระองค์รับรู้ว่าจิตวิญญาณของพระองค์ได้มาอุบัติในโลกมนุษย์เพราะความรักของพระบิดาและพระมารดาต่อกัน
เมื่อพระมารดาสิ้นพระชนม์ไป พระบิดาทรงมอบหมายให้พระนางปชาบดีโคตรมีทรงเลี้ยงดูพระองค์จนเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ทรงพระราชทานอาหารชั้นเลิศแห่งยุคนั้น ให้การศึกษาด้านศิลปศาสตร์เพื่อเตรียมความพร้อมเป็นพระกษัตริย์ในอนาคตจนสำเร็จการศึกษาถึง ๑๘ สาขาด้วยกัน ทรงสร้างปราสาท ๓ ฤดูไว้เป็นที่ประทับส่วนพระองค์ในพระราชวังกบิลพัสดุ์อันเก่าแก่และมีบริวารคอยรับใช้ถึง ๔๐,๐๐๐ คนในแต่ละวันและทรงสั่งเสื้อผ้าอาภรณ์ผลิตผ้าไหมกาสี อันเบาบางและงดงามจากต่างประเทศ(แคว้นกาสี)ที่มีชื่อเสียงในการผลิตผ้าไหมกาสีมาให้พระองค์ทรงสวมใส่ในชีวิตประจำวัน เป็นต้น
(๒)อุปการะคุณที่ผู้อื่นกระทำต่อตนจากที่มาของความรู้ตามพจนานุกรมฉบับราช บัณฑิตยสถานพ.ศ.๒๕๕๔ ให้คำนิยามว่า"อุปการะคุณ"คือความช่วยเหลือเกื้อกูล ความอุดหนุน เป็นต้น ผู้เขียนวิเคราะห์ได้ว่าโดยทั่วไปจิตวิญญาณของชีวิตมนุษย์ทุกคนนั้น เมื่อชีวิตสิ้นลงไปในภพชาตินั้นแล้ว จิตวิญญาณต้องที่เวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏต่อไป ดังนั้น เมื่อจิตวิญญาณเป็นตัวตนที่แท้จริงของมนุษย์เมื่อจิตวิญญาณของเจ้าชายสิทธัตถะทรงมาอุบัติในครรภ์ของพระนางมายาเทวีและทรงอภิบาลพระครรภ์เป็นเวลา๑๐ เดือน จนพระองค์ประสูติกาลมีชีวิตรอดออกเป็นทารกนั้น จึงถือว่าพระนางเป็นผู้รองรับจิตวิญญาณของพระองค์ให้มาอุบัติเป็นมนุษย์ ดังนั้นผู้เขียนเห็นว่า
-พระนางมายาเทวีทรงอุปการะคุณเจ้าชายสิทธัตถะช่วยเหลือเกื้อกูลเจ้าชายสิทธัตถะ ให้จิตวิญญาณของพระองค์ได้มาอุบัติเป็นทารกในพระครรภ์ของพระองค์ ทรงอภิบาลพระครรภ์จนชีวิตพระองค์เกิดมามีชีวิตรออยู่และทรงให้น้ำนมเสวยเพื่อหล่อเลี้ยงชีวิตให้พระองค์รอดได้อีก ๗ วันก่อนพระมารดาจะสิ้นพระชนม์ลง ดังปรากฏหลักฐานจากที่มาของความรู้ของพยานเอกสารในพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ ฉบับมหาจุฬา ฯ ขุททกนิกาย เถรคาถา ๑๐.ทสกบาต กาฬุทายีเถรคาถา "ข้อ. [๕๓๔] พระราชบิดาของพระองค์นามว่า สุทโธทนะ ผู้แสวงคุณอันยิ่งใหญ่ ส่วนพระมเหสีพระนามว่ามหามายา เป็นพุทธมารดาซึ่งถนอมพระครรภ์พระโพธิสัตว์มาแล้วเสด็จสวรรคตไปบันเทิงอยู่ในโลกสวรรค์(ชั้นดุสิต)และข้อ. [๕๓๕] พระนางมายาเทวีโคตมี พระองค์นั้นสวรรคตจุติจากโลกนี้ เพียบพร้อมด้วยกามคุณทิพย์ มีหมู่นางฟ้าห้อมล้อม ทรงบันเทิงด้วยกามคุณห้า"
-พระเจ้าสุทโธทนะนั้น ทรงอุปการะเลี้ยงดูพระราชโอรส เป็นอย่างดีทรงเกื้อกูลพระองค์ตั้งแต่วัยเยาว์วัย เมื่อพระนางมายาเทวีสิ้นพระชนม์ทรงโปรดเกล้า ฯ ให้พระนางปชาบดีโคตมีทรงอภิบาลพระราชโอรส ทรงให้การศึกษาด้านศิลปศาสตร์เป็นอย่างดีเพื่อเตรียมความพร้อมเป็นกษัตริย์ทรงโปรดสร้างปราสาท ๓ ฤดูจำนวน ๓ หลัง ไว้เป็นที่ประทับส่วนพระองค์และมีบริวารคอยรับใช้ถึง ๔๐,๐๐๐ คนในแต่ละวันดังปรากฎหลักฐานจากที่มาของความรู้ในพยานเอกสารพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๕ [ฉบับมหาจุฬา ฯ] ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ๒๕.โคตมพุทธวงศ์ ข้อ[๑๔] เราครองฆราวาสอยู่ ๒๙ ปีมีปราสาทที่อุดมอยู่ ๓ หลังคือสุจันทปราสาท โกกนุทปราสาท และโกญจปราสาท ข้อ[๑๕] มีนางสนมกำนัล ๔๐,๐๐๐ นางล้วนประดับประดาสวยงาม พระมเหสีของเราชื่อว่ายโสธรา พระโอรสของเราชื่อว่าราหุล" เป็นต้น และทรงสั่งเสื้อผ้าอาภรณ์ผลิตผ้าไหมกาสีอันเบาบางและงดงามจากต่างประเทศ โดยเฉพาะแคว้นกาสี ที่มีชื่อเสียงในการผลิตผ้าไหมกาสีทรงประทานให้พระองค์สวมใส่ ดังนั้นผู้เขียนเห็นว่า พระเจ้าสุทโธทนะพระบิดาทรงมีอุการะคุณต่อพระบรมศาสดา เป็นต้น -พระนางประชาบดีโคตมี ทรงให้การเลี้ยงเจ้าสิทธัตถะตั้งแต่พระชนม์มายุได้ ๗ วันจนกระทั่งอายุ ๒๙ ปีผู้เขียนเห็นว่า พระนางประชาบดีโคตรมีทรงเป็นผู้อุปการคุณต่อเจ้าชายสิทธัตถะ เป็นต้น
(๓) กระทำการปฏิการคุณตอบแทน เมื่อพระพุทธเจ้าทรงรู้แล้วว่า พระเจ้าสุทโธทนะ พระนางมายาเทวี พระนางประชาบดีโคตรมีทรงเป็นผู้อุปการะคุณต่อพระองค์แล้ว พระพุทธเจ้าทรงปฏิการคุณตอบแทนอย่างไร การตอบแทนคุณของพระบิดา พระมารดาและพระมารดาเลี้ยงเป็นประเด็นที่น่าศึกษาเป็นอย่างดียิ่งเมื่อศากยมุนีพระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้เรื่องกฎธรรมชาติของชีวิตมนุษย์ในสาระสำคัญอันเป็นแก่นแท้ของชีวิตมนุษย์ทุกคนนั้น กล่าวคือพระองค์ทรงค้นพบว่ามนุษย์ทุกคนมีจิตวิญญาณแก่นแท้ของชีวิต อาศัยอยู่ในร่างกายของตนเองชั่วระยะเวลาหนึ่งเท่านั้นเมื่อร่างกายหมดสภาพให้จิตวิญญาณอยู่อาศัยได้อีกต่อไปแล้ว หรือภาษาทางโลกเรียกว่า "สิ้นชีวิตลงไป"จิตวิญญาณจะออกจากร่างกายไปสู่ภพภูมิใหม่ต่อไป
เรื่อยต่อไปอย่างนี้ไม่มีวันสิ้นสุด และทรงค้นวิธีการปฏิบัติกรรมฐานเพื่อมิใช่จิตวิญญาณไม่ต้องเวียนว่ายเกิดต่อไปทรงตัดสินพระทัยเผยแผ่วิธีการปฏิบัติกรรมฐานแล้ว จนมีผู้ปฏิบัติตามจนบรรลุธรรมเป็นพระอริยสาวกไม่น้อยกว่า๑,๒๐๐ รูป มีศรัทธาเป็นพระโสดาบันเป็นแสนรูป/คน เป็นต้น เมื่อพระเจ้าสุทโธทนะทูลเชิญพระพุทธเจ้าเสด็จมาเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่พระนครกบิลพัสดุ์ ทรงเสด็จมาพร้อมพระอรหันต์จำนวน ๒๐,๐๐๐ รูป มาแสดงพระธรรมเทศนาเรื่องพระเวสันดรซึ่งเป็นภพชาติสุดท้ายของก่อนอุบัติลงมาเกิดเป็นมนุษย์เป็นหลักธรรมที่สอนให้ชาวพระนครกบิลพัสดุ์รับรู้ว่าชีวิตเกิดมาแล้วมิได้ตายแล้วสูญ มีจิตวิญญาณไปเวียนว่ายเกิดตายในสังสารวัฏมีความรู้ในกฎธรรมชาติของชีวิตมนุษย์ทุกคน และให้เข้าใจว่าชีวิตมนุษย์เป็นไปตามเหตุของการกระทำของตนเองไม่หลีกพ้นจากผลการกระทำของตนเองได้ หาใช่เป็นไปตามความเชื่อว่าพระพรหมทรงสร้างชีวิตมนุษย์ขึ้นมาและลิขิตชีวิตให้มนุษย์ เป็นไปตามพระพรหมต้องการด้วยการแบ่งชนชั้นวรรณะไม่ อย่างที่ชาวพระนครกบิลพัสดุ์เข้าใจผิดเป็นมิจฉาทิฐิแต่อย่างใดไม่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น