The greatest discovery is the natural laws of human life. That everyone is equal Without choosing a social caste as the basis for determining humanity When the soul is the real person of man That accumulates knowledge from the mind with reasons And show his intention to act accordingly Would receive the result of Own action

Breaking

Post Top Ad

Your Ad Spot

วันเสาร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

ทฤษฎีความรู้: ที่ใดมีรักที่นั่นมีทุกข์ในปรัชญาแดนพุทธภูมิ



In the theory of knowledge: Where there is love, there is suffering in Buddhaphumi's philosophy

๒. ทฤษฎีความรู้ของมนุษย์   

               ตามหลักอภิปรัชญาว่าด้วยความจริงของมนุษย์ เมื่อนักปรัชญากล่าวถึงข้อเท็จจริงว่าพรหมสร้างมนุษย์ขึ้นมาจากพระวรกายของพรหม ก็ต้องมีหลักฐานมายืนยันความจริงในเรื่องนี้ หากไม่มีพยานหลักฐานมายืนยันข้อเท็จจริงในนเรื่องนี้ ข้อกล่าวอ้างว่าพรหมสร้างมนุษย์ก็มีนำ้หนักน้อยรับฟังไม่ได้ว่าข้อเท็จจริงที่นักปรัชญาพราหมณ์เป็นความจริง ตามคำสอนของนักปรัชญาพราหมณ์ ตามแนวคิดญาณวิทยาเกี่ยวกับที่มาของความรู้ของมนุษย์ ต้องรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสและสั่งสมอยู่ในจิตใจมนุษย์เท่านั้นจึงจะถือว่าบุคคลนั้นมีความรู้จริงในเรื่องนั้น ๆ ได้ หากบุคคลใดไม่มีความรู้จริงจากประสบการณ์ผ่านประสาทสัมผัสของตนเอง แม้จะให้การยืนยันข้อเท็จจริงของคำตอบอย่างสมเหตุสมผลได้ ก็ไม่ถือเป็นหลักฐานที่จะให้การยืนยันความจริงได้  ในความรักก็เช่นกัน ไม่มีใครที่ไม่เคยรัก ต่างคนต่างเคยมีความรักท้้งสิ้น เพราะความรักเป็นความรู้จากประสบการณ์ชีวิตผ่านประสาทสัมผัสและสั่งสมอยู่ในจิตของบุคคลนั้น ๆ   เมื่อใครคิดจะรักและสมัครใจอยู่กับใครคนหนึ่ง ก็ต้องยอมรับผลกรรมแห่งความรักเพราะจิตใจคาดหวังจากคนรักเป็นอย่างที่ตนคิด  มี ๒ ผลลัพธ์ของเรื่องรัก ๆ ใคร่โดยสมัครใจกล่าวคือ ๑. สมหวังในผู้เป็นที่รักเป็นไปตามความคิดของตนเอง  ๒. ผิดหวังในผู้เป็นที่รักที่ไม่เป็นไปตามความคิดของตนเอง

            แต่มนุษย์ทั่วโลกถูกพัฒนาศักยภาพในชีวิตจากสิ่งแวดล้อมทางสังคมแตกต่างกัน จึงให้เหตุผลในการอยู่ร่วมกันนั้นแตกต่างกันมาก จนไม่สามารถหาแนวความคิดในการอยู่ร่วมกันเพื่อดำรงชีวิตแบบเดียวกันได้ เป็นปรากฏการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้นและแบ่งปันความรู้จากประสบการณ์ชีวิตบนเว็บไซต์ต่าง ๆ ในอินเตอร์เน็ตให้ผู้อื่นได้เรียนรู้ทุกวัน  ในแต่ละวันผู้คนหลายร้อยชีวิตได้พากันแชร์ความรู้สึกถึงรักของตนนั้น คิดไตร่ตรองอย่างมีเหตุผลกจากใจตนให้ผู้อื่นมีความสุขและทุกข์สุดใจอันเป็นความรักที่สมหวังและผิดหวังที่มีร่วมกันโนโลกออนไลน์ทุกๆวัน เพื่อให้มนุษย์โลกรับรู้ความรู้สึกผูกพันภายในกับคนที่พวกเขารักหมดใจ  ความทุกข์จากคนที่รักเป็นเรื่องธรรมดาเกิดขึ้นในโลกมนุษย์ เรียกได้ว่าไม่มีใครไม่เคยผิดหวังในความรัก เกือบทุกคนเคยผิดหวังในความรักกันแทบทุกคน และมนุษย์หลายคนไม่คิดที่จะปิดตนเองที่จะมีความรักใหม่อีกครั้ง เหตุผลของความรักแสดงให้เห็นว่าความรักนั้นยังเป็นอมตะคู่กับโลกเหมือนดอกไม้งามถึงเวลาจะเหี่ยวเฉาและเริ่มผลิบานเป็นดอกใหม่อีกครั้งหนึ่ง 

       เมื่อความรักจึงเป็นความจริงอย่างหนึ่งของจิตใจมนุษย์ที่แสดงออกถึงเจตนาของความพอใจปรากฏในร่างกายของตนเช่น แววตาของผู้ปรารถนาจะรักนั้นและตนรู้สึกพอใจกับคนที่เขาสนใจนั้น อาจจะมีแรงดึงดูดจากรูปลักษณ์ พฤติกรรม น้ำเสียงที่ออกในบุคลิกของบุคคลนั้น ๆ  คำว่า "รัก" นั้นจึงเป็นคำอมตะที่อยู่ในจิตใจของคนเกิดทุกยุคทุกสมัย  อาจกล่าวได้ว่า ความรักคือความจริงที่ไม่มีวันตายจากใจมนุษย์ แม้ว่าชีวิตจะตายเพราะความรัก อาจจะต้องผูกคอตายเพราะตนคิดจะประชดคำว่า "รัก" ที่ขื่นขมจนรู้สึกว่าตนขาดคนรักนั้นไม่ได้หรือรู้สึกอยู่มิได้เพราะถูกปฏิเสขที่จะผูกพันฉันท์คนรักต่อไป จนกลายเป็นสัญญาที่มีอยู่ในจิตใจพร้อมที่จะตายกับความรักนั้น  เมื่อชีวิตมนุษย์เป็นสิ่งไม่เที่ยง จิตที่อาศัยร่างกายของชีวิตนั้นย่อมไม่เที่ยงไปด้วยเช่นกัน เมื่อความรักเกิดขึ้นกับจิต จิตไม่มีที่อาศัยให้ใช้ผัสสะกับบุคลคนที่รักอีกต่อไป  แต่ความซื่อสัตย์ต่อความรักที่มีอยู่ได้นอนเนื่องอยู่ในจิตไปแล้ว ยังคงสถิตย์อยู่ในจิตชั่วนิจนิรันทร์  แม้มนุษย์จะซื่อสัตย์กับความรักโดยมีรักครั้งแรกและครั้งเดียวของชีวิต แสดงอาการรู้สึกว่าตนรักต่อบุคคลนั้นไม่เคยข้องแวะสิ่งใหม่ ๆ ที่จรเข้ามาสู่ชีวิตตลอดเวลาก็ตาม แต่กฎธรรมชาติไม่เคยปลดปล่อยให้มนุษย์อยู่อย่างอิสระ ใช้ชีวิตตามอารมณ์ตัณหาที่ตนต้องการในความอยากได้ในบุคคลที่ตนรัก อยากมีรักแท้เพียงรักเดียวของชีวิต และเป็นคนรักคนเดียวของบุคลที่ตนรัก แม้จะตนจะได้ไปก็ตาม ที่อาการของจิตเรียกว่า สมหวังในความรักนั้น แต่ที่สุดแห่งรักนั้นคือการปล่อยวางมือที่เคยกุมไว้ตลอดชีวิตให้ร่างกายที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตที่ตนหวงแหนปกป้องคุ้มครองมิให้ผู้อื่นแย่งไปครอบครองนั้น คืนสู่ธรรมชาติของธาตุดิน น้ำ ลม และไฟ เป็นต้น  ในขณะดำรงชีวิตเคียงคู่อยู่กับโลกนั้น หากวัตถุแห่งกิเลสคือชีวิตของคนที่ตนรักนั้น ไม่ตอบสนองอารมณ์ตนอย่างที่ตนรักผัสสะครั้งใดได้แค่ความเย็นชาและเหินทางออกไปแล้ว ที่สุดของความรักคือทางตัน ไม่แชร์ความสุขอีกต่อไป เกิดอาการนิพพิทาเบื่อหน่าย ไม่มีตัณหาอยากได้สิ่งนั้น มาผัสสะสนองความต้องการตนอีกย่อมเกิดการหย่าร้างกันไป  แต่มนุษย์เกิดมาที่จะรักการร้างลากันไปใช่จิตตนนั้นจะหยุดความพอใจในความรักอีกก็ต้องไขว้คว้าหาคนรักใหม่มาตอบสนองความต้องการตนต่อไป ****

 ๒.๑ ปัญหาคำว่า "รัก" ของมนุษย์คืออะไร      เมื่อผู้เขียนค้นคว้าหลักฐานจากที่มาของความรู้ในพยานเอกสารพจนานุกรมฉบับราชบัณทิตยสถาน    พ.ศ. ๒๕๕๔  ได้นิยามคำว่า "รัก" ถูกกำหนดให้เป็นคำกิริยา  มีใจผูกพันด้วยความห่วงใย     มีใจผูกพันด้วยความเสน่หา  มีใจผูกพันฉันท์ชู้สาว เช่น ชายรักหญิง    ชอบเช่น รักสนุก รักสงบ  เป็นต้น    ส่วนคำว่า "ความ"  ได้นิยามว่า อาการ  เช่นความสุข ความทุกข์ เป็นต้น    ส่วนคำว่า "ผูกพัน" ได้นิยามว่ามีความเป็นห่วงกังวลเพราะรักใคร่ก่อให้เกิดพันธะที่จะต้องปฏิบัติตาม  เมื่อรวมสองคำเข้าด้วยกันคำว่า "รัก"  คืออาการจิตของคนที่คิดชอบบุคคลใดบุคลหนึ่งที่จรเข้ามาสู่ชีวิตของตน  เมื่อผัสสะแล้วเกิดตัณหาอยากได้มาครอบครองโดยจิตของผู้นั้น      มีเจตนาคิดผูกพันด้วยความห่วงใย  หรือมีจิตผูกพันด้วยความเสน่หาหรือมีใจผูกพันฉันท์ชู้สาว     แต่เมื่อแสดงเจตนาเสนอออกไปแล้ว  ผู้รับการแสดงเจตนานั้นเกิดการตอบสนอง   เกิดจิตผูกพันกันเข้าก็เป็นสิ่งที่สวยงาม   แต่เมื่อมีคำเสนอไปแล้ว    ไม่มีคำสนองตอบย่อมเกิดความทุกข์จากการถูกปฏิเสขนั้น และพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ   

                เมื่อผู้เขียนค้นคว้าโดยค้นหาคำว่า "ความรัก" ผ่านพระไตรปิฎกออนไลน์เล่มที่ ๑๔ พระสุตันตปิฎก ที่ ๖  [ฉบับมหาจุฬา ฯ ]   มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์      [๑.เทวทหวรรค]  ๑. เทวทหสูตร ข้อ.๑๑ พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า  "ภิกษุทั้งหลายเปรียบเหมือนชายผู้หลงรัก  มีจิตผูกพัน มีความรักร้อนแรง  มีใจจดจ่อในหญิง เขาเห็นหญิงนั้นยืนคุยออดอ้อนฉลเลาะอยู่กับชายอื่นเธอทั้งหลายเข้าใจความข้อนั้นอย่างไร  คือ โสกะ (ความเศร้าโศก)  ปริเทวะ      (ความคร่ำครวญ) ทุกข์ (ความทุกข์กาย) โทมนัส  (ความทุกข์ใจ)     และอุปายาส  (ความคับแค้นใจ)  พึงเกิดขึ้นแก่ชายนั้น เห็นหญิงนั้นยืนคุยออดอ้อนฉลเลาะอยู่กับชายอื่นบ้างไหม" ภิกษุเหล่านั้นทูลตอบว่า " พึงเกิดขึ้นพระพุทธเจ้าข้า"  "ข้อนั้นเพราะเหตุไร"

        จากคำนิยามในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิต พ.ศ. ๒๕๕๔และ จากข้อความในพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬา ฯ ผู้เขียนวิเคราะห์ว่า ความรัก คือมนุษย์ (ชาย) ผู้หลงรักผู้หญิง มีจิตผูกพันด้วยความเป็นห่วงกังวล อย่างร้อนแรง มีใจจดจ่อในมนุษย์ (หญิง) คนนั้น เป็นต้น เราแยกประเด็นวิเคราะห์หาเหตุผลของคำตอบเรื่องความรักได้ดังต่อไปนี้ 

         ๑. ผู้หลงรัก  ผู้เขียนวิเคราะห์ได้ว่า ความรักเป็นอาการของจิตมนุษย์เกิดรักซึ่งกันและกัน เมื่อฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดได้ผัสสะรูปร่างหน้าของกันและกัน ต่างฝ่ายมีจิตเกิดอาการมัวเมา (ลุ่มหลง) ในรูปร่างหน้าตางดงามอ่อนหวานวาจาไพเราะของบุคคลแต่ละฝ่ายแสดงออกมาแล้วจิตเกิดตัณหาในอยากได้มาผูกพันกัน  

         ๒. จิตผูกพัน วิเคราะห์ได้ว่า เมื่อจิตแต่ละฝ่ายเกิดอาการหลงรักแล้วเจตนาให้อีกฝ่ายหนึ่งรับรู้ทั้งฝ่ายตกลงที่จะคบหากันเกิดพันธะผูกพันต้องการดูแลเอาใจใส่ฉันท์ชู้สาว หรือผูกพัน ด้วยความเสน่หาและเกิดความผูกพันธ์ดูแลเอาใจใส่ตลอดเวลา  เป็นต้น

        ๓. มีความรักอย่างรุนแรงวิเคราะห์ได้ว่า เมื่อเกิดความผูกพันแล้ว ต้องการมีเจตนาสร้างความสัมพันธอย่างจริงจัง มิใช่แค่เพื่อนมิตรธรรมดาพูดคุยสนทนากันเท่านั้น แต่เป็นคนร่วมทั้งสุขและทุกข์ตลอดชีวิต

          ๔. มีใจจดจ่อกับหญิงนั้น  วิเคราะห์ได้ว่าเมื่อมีความรักเกิดขึ้นด้วยจิตผูกพันฉันท์ชู้สาวซึ่งกันและกัน ติดตามดูแลเอาใจใส่ซึ่งกันและกันตลอดเวลาไม่ว่าจะใช้ชีวิตอยู่ตรงไหน ก็ตามติดตามห่วงใยกันอย่างนั้น     

           ด้วยเหตุผลที่ได้วิเคราะห์หาเหตุผลของคำตอบได้ว่าความรักคืออาการของจิตที่เกิดขึ้นกับคนสองคน เมื่อต่างฝ่ายได้ผัสสะรูปร่างหน้าภายนอกแล้วก็เกิดอาการของจิต เกิดตัณหาในความอยากผูกพันกันฉันท์ชู้สาว มีจิตอาการของจิตเกิดเสน่หา เกิดความผูกพันอย่างจริงจัง ถึงอยากได้เป็นเจ้าของด้วยการแต่งงานกัน และเอาใจใส่ดูแลตลอดตลอดชีวิต - เมื่อระลึกได้ว่าความรักเป็นอย่างนี้แล้ว ทำให้เกิดทุกข์อย่างไร   

ไม่มีความคิดเห็น:

Post Top Ad

Your Ad Spot

หน้าเว็บ